ทริคการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ
6 Feb 2020 /

การกินยาและการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยสูงอายุ ต้องให้ความสำคัญและให้ความสนใจในการใช้ยาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นยารักษาโรคประจำตัวที่ต้องกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน หรือยารักษาโรคบางชนิดที่ต้องให้ความระมัดระวัง ซึ่งเรามีทริคดีๆ มาแนะนำการใช้ยาในผู้สูงอายุ ดังนี้
- ใช้นาฬิกาปลุกเตือน โดยมากผู้สูงอายุมักจะมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจ ซึ่งต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ และตรงเวลา ดังนั้น ผู้ดูแลควรตั้งเวลาในการกินยาให้ผู้สูงอายุ เพื่อป้องกันการลืมกินยาและเตือนให้กินยาตรงเวลา
- ใช้ตลับใส่ยา สำหรับใส่ยาที่ต้องกินในแต่ละมื้อ และควรแบ่งยาใส่ตลับให้พอใช้ในแต่ละวัน ไม่ควรแบ่งยาล่วงหน้า หากยาอยู่ในแผงฟอยล์ หรือซองสีชา ควรตัดแบ่งทั้งฟอยล์และไม่แกะยาออกจากแผงฟอยล์ เนื่องจากความชื้นและอุณหภูมิที่สูง อาจทำให้ยามีประสิทธิภาพลดลง
- ยาที่ผู้สูงอายุควรระวัง
- ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาคลายเครียด : ยา 3 กลุ่มนี้จะทำให้เกิดอาการง่วงซึม มึนงง ซึ่งอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างใช้ยาได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัย
- ยาแก้ปวดอักเสบ (NSAIDs) : ยากลุ่มนี้มีผลข้างเคียงคือทำให้ทางเดินอาหารเกิดการระเคือง และหากกินอย่างต่อเนื่องอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้ นอกจากนี้ยากลุ่มนี้ยังมีผลทำให้ไตวายได้ ดังนั้น หากจำเป็นต้องใช้ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_printing/1240
https://oryor.com/%E0%B8%AD%E0%B8%A2/detail/media_news/332
- การใช้ยาลดความดันโลหิตสูง และยาเบาหวาน ที่ต้องกินอย่างสม่ำเสมอทุกวัน เพื่อควบคุมความดันโลหิตและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ห้ามหยุดยา เพิ่มหรือลดขนาดยาเอง อย่างเด็ดขาด!! โดยยาลดความดันโลหิตสูงต้องกินให้ตรงเวลาทุกวัน หากลืมกินยา ควรกินยาทันทีที่นึกขึ้นได้ และหากลืมกินเมื่อใกล้มื้อถัดไป ห้ามกินยาเพิ่มเป็น 2 เท่าอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายจากการความดันตกได้ สำหรับยารักษาโรคเบาหวาน ต้องใช้อย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อป้องกันมิให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น ไตวาย ตาพร่า และอาการชาตามปลายมือปลายเท้า